ตะเคียน
Hopea odorata Roxb.
 


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์


ประโยชน์



 

กะกี้  โกกี้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่),แคน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ),จูเค้ โชเก จะเคียน(ภาคเหนือ),ตะเคียนทอง(ภาคกลาง)
ขทิร (ขะ-ทิ-ระ), ขทิโร (ขะ-ทิ-โร)
Hopea odorata  Roxb.
Iron Wood, Thingan, Sace, Malabar Iron Wood
Dipterocarpaceae
เป็นไม้ในเขตมรสุมของเอเชีย
ชอบขึ้นในที่ลุ่มและชุ่มชื้น
เพาะเมล็ด การเก็บเมล็ดจากต้นโดยสังเกตเมื่อปีกของผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และต้องรีบนำมาเพาะ ถ้าเก็บไว้นานเปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลง
เนื้อไม้ต่อเรือ  ทำเครื่องตกแต่งบ้าน และเครื่องมือใช้ในทางกสิกรรม เนื้อไม้สวยและทนทาน ทางยา แก่นมีรสขมอมหวาน
รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา

 
 


          ตะเคียน  ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าจะทำยมกปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี  ฝ่ายเดียรถีย์จะทำแข่งบ้าง โดยเตรียมมณฑลมีเสาซึ่งทำด้วยไม้ตะเคียน หลังคามุงด้วยดอกนิลอุบล
          อีกตอนหนึ่งกล่าวเกี่ยวกับต้นตะเคียนว่า สิริคุตถ์หลอกให้พวกนิครนถ์ ผู้เป็นอาจารย์ของครหพินน์ ตกลงไปในหลุมอจจาระ พวกครหพินน์จึงคิดจะแก้แค้นพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นอาจารย์ของสิริคุตถ์ โดยทำหลุมไฟ ใช้ไม้ตะเคียนเป็นเชื้อเพลิง แล้วทำเป็นกระดานกลปิดไว้ที่ปากหลุม เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระราชดำเนินไปที่ปากหลุมไฟนั้น ก็มีดอกบัวมารองรับพระบาท จึงมิได้รับอันตรายแต่อย่างใด

          ตะเคียน เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เป็นพืชอยู่ในสกุลเดียวกับสยาดำ ตะเคียนหนู คือ สกุล " Hopea  " ในวงศ์ " Dipterocarpaceae "
          ลักษณะ ตะเคียนเป็นไม้ต้นไม้ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลคล้ำหรือดำ ที่รอยแตกของเปลือกจะมีชันสีเหลืองเกาะอยู่ที่แผลแตก ต้นที่ยังเล็กอยู่เปลือกจะเรียบ แต่ถ้าต้นโตเต็มที่เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดหนาทึบเป็นพุ่มกลม เนื้อไม่ละเอียดสีน้ำตาลปนเหลือง  ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปไข่แกมรูปหอก ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน  ตรงที่ง่ามแขนงใบที่ติดกับเส้นกลางใบมักมีตุ่มหูดติดอยู่  ดอก ช่อ ออกตามง่ามใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาวถึงเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกจะเรียงกันเป็นแถวบนก้านช่อดอกย่อย ที่ช่อมีขนสีเทาทั่วๆ ไป ผล รุปกระสวยเล็ก มีปีกยาว 2 ปี ปีกสั้น 3 ปีก ปีกยาวแต่ละปีกมีเส้นๆ ตามความยาว ปีกละ 7 เส้น