ส้ม
Citrus aurantium  Linn.
 

 


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


 

ซาฮ้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), นาเรงกี (อินเดีย)
เอราวโต (เอ-รา-วะ-โต), นารงฺโค (นา-รัง-โค), เอราวต (เอ-รา-วะ-ตะ)
Citrus aurantium  Linn.
Orange, Seville Orange, Bitter Orange, Bigarade,Sour Orange
Rutaceae
ทวีปเอเชียตอนใต้
ชอบขึ้นที่ดินที่ชุ่มชื้น การระบายน้ำดี ต้องการแสงแดดมาก
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ติดตา
ส้มใช้เนื้อผลเป็นอาหาร บางชนิดใช้แต่งรสเปรี้ยวในอาหาร ใช้ใบส้มบางชนิดใส่ในหม้อต้มน้ำร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ
เพื่อใช้อาบอบสมุนไพร เช่น ใบส้มโอ
 
 


          ส้ม  ที่กล่าวถึงถึงในพุทธประวัติก็เช่นเดียวกบมะม่วง คือเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไปทรงเก็บมะม่วง ได้ทรงเก็บผลส้มมาด้วย
          ส้มในโลกนี้มีหลายชนิด (species) สำหรับส้มป่าที่พบในอินเดียมี "ส้มมะงั่ว" หรือที่เรียก "มะนาวควาย" ชาวพื้นเมืองเรียก"นิมบู" มีชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus medica  Linn. ชื่อสามัญว่า "Citron" จะออกดอกออกผลตลอดปี ส่วนอีกชนิดหนึ่งชาวพื้นบ้านของอินเดียเรียก "นาเรงกี" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus aurantium  Linn. มีชื่อสามัญ "Bigarade" Bitter Orange, Sour Orange, Seville Orange" ส้มชนิดหลังนี้จะออกดอกออกผลปีละครั้ง
          ส้ม  เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกับมะกรูด มะนาว คืออยู่ในสกุล " Citrus  " ในวงศ์ " Rutaceae "
          ลักษณะ  ส้มเป็นพันธุ์ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง ใบ เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อยหนึ่งใบ ส่วนก้านใบจะแผ่เป็นปีกเรียก winged petiole จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ชนิดของส้ม เช่น ส้มเขียวหวาน มะนาว ฯลฯ  winged petiole จะมีขนาดเล็ก สำหรับส้มโอ มะกรูด winged petiole จะมีขนาดหใญ่เท่าแผ่นใบ  ถ้านำใบมาส่องดู จะเห็นเป็นจุดใสๆ ซึ่งเป็นจุดของต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไป เมื่อขยี้ใบดมดูจะมีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ลำต้น กิ่งก้าน มีหนามแหลมอยู่ทั่วไป  ดอก ออกเป็นกระจุกตามกิ่งเล็กๆ หรือปลายยอด มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผล กลม หรือกลมรี ผลแก่ผิวผลสีเหลือง ภายในมีเนื้อและมีเมล็ด เนื้อรับประทานได้ หวานหรือเปรี้ยว