สมอ
Terminalia chebula  Retz.
 


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


 

สมอไทย,สมออัพยา(ภาคกลาง),ม่าแน่(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)ลหมากแน่ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
หรีตก (หะ-รี-ตะ-กะ), หรีตกี (หะ-รี-ตะ-กี), หรีตโก (หะ-รี-ตะ-โก), อภยา (อะ-พะ-ยา)
Terminalia chebula  Retz.
Myrobalan Tree,Chebulic Myrobalan, Ink Nut
Combretaceae
อินเดีย พม่า ไทย
ชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง และชื้น ในทุกภาคของประเทศไทย
เพาะเมล็ด
ผลดิบเป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้บิด แก้ไข้ ผลแก่จัดเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน เนื้อไม้ทำเสา รอด ตง คาน สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน คราด ครก สาก ฯลฯ เปลือกต้น ผล ย้อมผ้าและอวน แห ให้สีเขียว ผลสดทำน้ำปานะ ใช้แช่อิ่ม และเป็นผักจิ้มน้ำพริก
 

 


          สมอ เป็นไม้ต้น ในพุทธประวัติกล่าวว่า ขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุตผลสุขสมบัติอยู่ใต้ต้นไม้  พระอินทร์ทรงเห็นว่า พระพุทธองค์ควรเสวยพระกระยาหาร จึงนำผลสมอทิพย์มาถวาย เมื่อเสวยแล้วจะช่วยให้ลดอาการกระหายน้ำและช่วยระบายด้วย

          สมอ  เป็นพืชในสกุลเดียวกันกับสมอพิเภก สมอดีงู หูกวาง ฯลฯ คือสกุล " Terminalia  " และอยู่ในวงศ์ "  Combretaceae "
          ลักษณะ  สมอ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกต้นขรุขระ สีน้ำตาลแก่ค่อนข้างดำ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปไข่ บริเวณขอบใบใกล้ๆ โคนใบจะมีตุ่มหูดหนึ่งคู่ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ดอก ช่อ ยาว ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง  กลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผล รูปเกือบกลม มีสัน 5 สัน ช่อผลห้อยลง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง ผลแห้งสีดำ มี 1 เมล็ด