ประดู่ลาย
Dalbergia sissoo Roxb.
 


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


 

ดู่แขก (ลำปาง), ประดู่แขก
กปิลา (กะ-ปิ-ลา), สีสป (สี-สะ-ปะ)
Dalbergia sissoo  Roxb.
South Indian Redwood, Sissoo
Papilionaceae
เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของอินเดียและประเทศแถบหิมาลัย
ขึ้นตามป่ารกร้างทั่วไป
เพาะเมล็ด
ใช้ปลูกเป็นไม้ร่มเงา ไม้ริมทาง ทางยา เปลือกและเนื้อไม้มีรสขม รสร้อนฉุน รับประทานเป็นยากระตุ้นกำหนัด
ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์กินจะทำให้แท้ง เป็นยาขับเสมหะ ลดไข้ ยาต้มของใบใช้รักษาโรคหนองใน
 
 


          ประดู่ลาย หรือ ประดู่แขก ชาวอินเดียเรียก "ลิสโซ" ชาวฮินดูเรียก "ลิสสู" ในพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้ากลับจากเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโทธนะพระราชบิดาแล้ว  ได้พาพระอานนท์ พระราหุล พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารไปสู่กรุงราชคฤห์ ประทับยังสีสปาวัน  คือป่าไม้ประดูลายหรือประดู่แขก

          ประดู่ลาย  เป็นพันธุ์ไม้ในกลุ่มพวกไม้พลอง ชิงชัน คืออยู่ในสกุล " Dalbergia  " ในวงศ์ " Papilionaceae " ประดู่ลายเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือก สีเทา แก่นสีน้ำตาล และมีแถบสีดำแซม เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง  ใบ เป็นใบประกอบ ใบย่อย 3-5 ใบ ขนาดใหญ่รูปมนป้อม ปลายใบแหลม ใบอ่อนมีขนนุ่มๆ แต่เมื่อใบโตเต็มที่ขนจะร่วง ดอก เป็นช่อสั้นๆ ออกตามง่ามใบ ดอก สีเหลืองอ่อนๆ ผล เป็นฝัก แตกได้ แต่ละฝักมี 1-3 เมล็ด