นิโครธ
Ficus bengalensis Linn.
 

 


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อสันสกฤต
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์

กร่าง (ภาคกลาง)
นิโครธ (นิ-โค-ระ-ธะ), อชปาล-นิโครธ (อะ-ชะ-ปา-ละ-นิ-โค-ระ-ธะ),นิโครโธ (นิ-โค-ระ-โธ)
บันฮัน
Ficus bengalensis  Linn.
Bamyan Tree,Bar,East Indian Fig
Moraceae
พบทั่วไปในปเอเซียเขตร้อนได้แก่ อินเดีย ลังกา พม่า ฯลฯ
สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิดที่ค่อนข้างชุ่มชื้น
เพาะเมล็ด นก ค้างคาว กินผลแล้วถ่ายมูลมีเมล็ดติดอยู่ หรือจะปักชำ ตอนกิ่งก็ได้
เปลือกต้น ใช้แก้อาการท้องเดิน เมล็ดใช้เป็นยาเย็นและยาบำรุง ผลใช้รับประทาน

 

 


          นิโครธ หรือไทรนิโครธ ภาษาสันสกฤต "บันฮัน" ภาษาฮินดูว่า "บาร์กาต" บางที่เรียกว่า "ต้นอชปาลนิโครธ" อชปาลนิโครธ หมายถึง เป็นที่พำนักของคนเลี้ยงแกะ ต้นนิโครธ แปลว่า ต้นไทร

          ตามพุทธประวัติกล่าวถึง
          ตอนที่ 1
 พระพุทธเจ้าทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา
          เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยาแล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส
          ตอนที่ 2  เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ 7 วันแล้วจึงได้ทรงย้ายไปประทับ ณ ต้นไทรนิโครธ เป็นเวลาอีก 7 วัน เป็นต้นไทรนิโครธชนิดใบกลม

 


          ลักษณะ ต้นนิโครธเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านเป็นพืชพวกเดียวกันกับกร่าง มะเดื่อ อยู่ในสกุล "Ficus " ในวงศ์ "Moraceae" ลำต้น จะเป็นพูพอน ปลายกิ่งจะลู่ลง ใบ ดกหนาทึบ ทุกส่วนมียางสีขาว ลำต้น กิ่ง มีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย ซึ่งรากอากาศนี้ เมื่อหยั่งถึงดินแล้วทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน  เป็นฉากเป็นห้อง กิ่งอ่อนจะมีขนนุ่มหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนมีขนหนามากโดยเฉพาะด้านท้องใบ ใบแก่ไม่มีขน รูปไข่ ปลายใบมน เมื่อแก่จะร่วงหล่น และมีรอยแผลใบเด่นชัดบนกิ่ง ดอก ช่อสีนวล ออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง แยกเพศ แต่ละดอกมีขนาดเล็กมีจำนวนมาก ผล เป็นผลชนิดรวม รูปกลมเล็ก ออกติดแนบกับกิ่ง แต่ละผลจะมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2-4 กลีบ เมื่อแก่ผลจะเป็นสีแดงคล้ำ เป็นอาหารของนก