มะตูม
Aegle marmelos  Corr.
 


ชื่อพื้นเมือง

ชื่อบาลี

ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์





 

กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม (ปัตตานี),พะโนงค์(เขมร),มะปิน (ภาคเหนือ), มะปีส่า(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
มาลุร (มา-ลุ-ระ), เพลุว (เพ-ลุ-วะ),พิลฺโล (พิน-โล),เวฬุว (เว-ลุ-วะ), มาลูร (มา-ลู-ระ), มาลุโร (มา-ลุ-โร)
Aegle marmelos  Corr.
Bengal Quince, Bael Fruit Tree, Bilak Bael, Elephant Apple, Bel Apple
Rutaceae
 อินเดีย และในประเทศไทย
ป่าเบญจพรรณและป่าทั่วๆไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-700 เมตร
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง สัตว์ป่าบางชนิดช่วยแพร่พันธุ์ได้
ผลดิบฝานทำให้แห้ง คั่ว ใช้ชงน้ำดื่ม แก้อาการท้องเสีย แก้บิด ผลสุกเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อย ใบสดคั้นน้ำกิน ลดอาการหลอดลมอักเสบ เปลือกรากและเปลือกต้น รักษาไข้มาเลเรีย ใบสดเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ ช้ในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานใบมะตูมสดแก่คู่บ่าวสาวในสมรสพระราชทานหรือพระราชทานแก่นักเรียนทุนอานันทมหิดล ที่กราบบังคมทูลลาไปศึกษาต่อ เป็นต้น ใบสด ใช้ตำใส่แกงบวน ผลดิบใช้เชื่อม ผลสุกเป็นผลไม้และใช้ทำน้ำปานะ ยางจากผลดิบผสมสีทากระดาษใช้แทนกาว
 

 


          มะตูม  ในพุทธประวัติ  ตอนที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ นิโครธาราม เขตกบิลพัสดุ์ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับได้เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน และทรงประทับ ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม

          มะตูมเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกับพืชพวก ส้ม มะนาว คือวงศ์ "Rutaceae"
          ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ ลำต้น กิ่งมีหนามแหลมคมยาว เปลือกสีเทาอมขาว มักแตกเป็นแผ่นๆ ห้อยย้อยลง ใบ เป็นใบประกอบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่แกมใบหอก ขอบใบหยักมน แต่ละใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ สองใบด้านข้างขวาซ้ายมีขนาดเล็กและอยู่ตรงข้าม ส่วนใบตรงกลางมีขนาดใหญ่กว่าสองใบข้างๆ หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบสีเขียวอ่อน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวลถึงสีเหลือง มีกลิ่นหอม มี 5 กลีบ เกสรตัวเมียมีจำนวนมาก ผล รูปไข่ หรือทรงกลม เปลือกนอกแข็ง มีขนาดใหญ่ เนื้อในสีเหลือง มีเนื้อเยื่อสีเหลืองที่มีน้ำยางเหนียวๆ ใสและมีเมล็ดรูปรีฝังอยู่ในน้ำยางนี้เป็นจำนวนมาก