มะขามป้อม
Phylanthus emblica  Linn.
 


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์



 

กันโตด (เขมร-จันทบุรี), กำทวด (ราชบุรี),มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
อมตา (อะ-มะ-ตา), อามาลกี (อา-มะ-ละ-กี), อามลก (อา-มะ-ละ-กะ),อามลโก(อา-มะ-ละ-โก)
Phylanthus emblica  Linn.
Emblic Myrabolan, Malacca Tree, Indian Gooseberry, Amala Plant, Amalak Tree
Euphorbbiaceae
พบในเอเชียเขตร้อน
ชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
เพาะเมล็ด
เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ไอ ผลสดมีวิตามินซีสูง ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ผลใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
ทำให้ชุ่มคอ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ เนื้อไม้ใช้ทางการเกษตร ใบสดและเปลือกต้นย้อมผ้าให้สี้นำตาลแกมเหลือง
 
 


          มะขามป้อม  ฮินดูเรียก "อะมะลา" หรือ "อะมะลิกา" ในพุทธประวัติ กล่าวไว้เช่นเดียวกับเรื่องของมะม่วง คือในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จไปเก็บมะม่วง ก็ได้ทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย

          มะขามป้อม  เป็นพันุ์ไม้พวกเดียวกับ มะยม ลูกใต้ใบ หญ้าใต้ใบ คือสกุล "Phyllanthus  " และอยู่ในวงศ์เดียวกับยางพารา สลัดได คือวงศ์ " Euphorbiacea "
          ลักษณะ มะขามป้อมเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ แต่จะผลิใบใหม่เร็วมาก เปลือก สีเขียวอ่อนปนเทา กิ่งจะโน้มโลง ใบ เป็นใบเดี่ยว แต่ทว่าดูแล้วเหมือนใบประกอบ เพราะใบขนาดเล็กมาก เล็กกว่าใบมะขาม ใบจะออกสลับเรียงแถวในระนาบเดียวกัน รุปขอบขนาน ดอก ช่อสีนวล ออกเป็นกระจุกตรงโคนของกิ่งย่อยออกมายาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร แล้วจึงจะเป็นส่วนของใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่ในกิ่งเดียวกัน ผล กลมมีเส้นแนวยาวตามผิวผลหกแนว ผลแก่สีเขียวอ่อน รสเปรี้ยวอมฝาด เมล็ดกลมแข็งมี 1 เมล็ด