ฝ้าย
Gossypium barbadense  Linn.
 


 

ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


 

ฝ้ายเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ฝ้ายชัน (ลำปาง), ฝ้ายดอก (เชียงใหม่)
กปฺปาสิ (กับ-ปา-สิ), กปฺปาส (กับ-ปา-สะ), กปฺปาสี (กับ-ปา-สี), กปฺปาโส(กับ-ปา-โส), พทรา(พะ-ทะ-รา)
Gossypium barbadense Linn.
Cotton, Sea Iceland Cotton
Malvaceae
พบในทวีปอเมริกาใต้
ขึ้นตามที่รกร้างทั่วๆ ไป
เพาะเมล็ด
เปลือกรากฝ้ายเป็นยาบีบมดลูก ปุยฝ้ายทำสำลีและอุปกรณ์ใช้ในทางการแพทย์ และใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันหลายชนิด น้ำมันเมล็ดฝ้ายใช้เป็นน้ำมันหุงต้มแต่ต้องเอาสารบางชนิดออกก่อน

 
 


          ฝ้าย  ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้า ได้ทรงส่งสาวก ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ชุดแรกจำนวน 60 องค์ ไปโปรดเวไนยสัตว์แล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จอุรุเวลาประเทศ ครั้นถึงไร่ฝ้ายจึงหยุดยังรุกขมูล (โคนต้นไม้) ฝ้ายต้นหนึ่ง
          ปัจจุบัน ฝ้ายที่ใช้เก็บสมอฝ้ายในทางการเกษตร นักวิชาการพยายามผสมพันธุ์ให้ลำต้นเตี้ยลงและมีผลดก เพื่อสะดวกในการเก็บสมอฝ้าย ในอดีตต้นฝ้ายน่าจะมีขนาดใหญ่มาก จึงสามารถเข้าไปอาศัยใต้ร่มเงาของต้นได้

          ฝ้าย  เป็นไม้สกุลเดียวกับฝ้ายตุ่น คือสกุล " Gossypium " และอยู่ในวงศ์ " Malvaceae "
          ลักษณะ ฝ้ายเป็นไม้พุ่ม ลำต้น มีสีน้ำตาลแดงอาจเป็นเหลี่ยม ใบ เดี่ยว รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ก้านใบค่อนข้างยาว ดอก เดี่ยว มีใบประดับ 5 กลีบติดกัน กลีบดอกสีเหลือง ผล กลมปลายยาวแหลม เมล็ด รูปไข่ มีขนสีขาวยาว 3.7-5 เซนติเมตร รอบๆ เมล็ด