กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

  จิก

 

  ชะเอมไทย

 

  ปีบ

 

  ไพล

 

  มะแว้งเครือ

 

  มะแว้งต้น

 

  มะกรูด

 

  มะดัน

 

  มะขามป้อม

 

  มะนาว

      มะอึก
      ลำโพงดอกขาว
 

  หนุมานประสานกาย


























































 

     

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

ปีบ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Millingtonia hortensis   L.f.

ชื่อสามัญ   Cork Tree , Indian Cork

วงศ์  BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น :  กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วยแกนกกกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อกระขุกแยกแขนง ยาว 10-25 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. เชื่อมกันเป็นรูประฆังปลายตัด กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงเกลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบนยาวขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมา เป็นแผ่นบางมีปีก
ส่วนที่ใช้ :
 ราก ดอก ใบ

สรรพคุณ :
         
เป็นพืชที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ในตำรายาไทย เช่น

  • ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด

  • ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาสูบมามวนเป็นบุหรี่ สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด

  • ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบแทนฝิ่น ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน

วิธีและปริมาณที่ใช้
           แก้หอบหืด  ใช้ดอกแห้ง 6-7 ดอก มวนเป็นบุหรี่สูบ
          นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของปีบ เพื่อหาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการรักษา ตรวจพบสาร Scutellarein และ Scutellarein-5-galactoside จากดอกปีบ ต่อมาตรวจพบว่าในใบ มีสาร hispidulin
           ในผล พบ acetyl oleanolic acid
           ในดอก มีสาร Scutellarein, hispidulin และ Scutellarein-5-galactoside
           ในราก พบสาร hentriacontane, lapachol, hentria contanol-1, B-stosterol และ paulownin
          ในส่วนของแก่นไม้และเปลือกของต้น พบสาร B-stosterol นำมาสก้ดออกจากดอกปีบแห้งโดยนำสารสกัดด้วย methanol มาแยกลำดับส่วนด้วย ปีโตรเลียมอีเธอร์ คลอโรฟอร์ม บิวธานอล และน้ำ นำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์ม จะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมในขณะที่ส่วนสกัด Butanol และน้ำ จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมหดตัว และพบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butanol จากสารสกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม จากการศึกษานี้ จึงเชื้อว่า hispidulin มีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดลม ซึ่งขณะนี้กำลังมีผู้วิจัยศึกษาถึงฤทธิ์ ขยายหลอดลมในร่างกายของสัตว์ทดลอง
          สำหรับการศึกษาในด้านความปลอดภัย ของการใช้ดอกปีบในการรักษา ได้ศึกษาพิษเฉียบพลัน (acute) และกึ่งเฉียบพลัน (Subacute toxicity) อย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้ จากสารสกัดตัวใดนั้น ยังให้คำตอบไม่ได้ ต้องศึกษาสาระสำคัญแยกกันไป แม้ว่า hispidulin จะเป็นสาระสำคัญตัวหนึ่งที่แยกได้จากส่วนของคลอโรฟอร์ม พบว่าสาร hispidulin ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์มนั้น จะปรากฏอยู่ประมาณ 0.364% W/W ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาพิษของ hispidulin ที่แยกให้บริสุทธิ์ แล้วจึงจะให้คำตอบที่ชัดเจนและถูกต้อง
          การศึกษาฤทธิ์อื่น ๆ ของสาร hispidulin และสารอื่น ๆ ที่แยกได้จากปีบ ควรที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมตลอดจนกลไกที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์นั้นเพื่อประเมินศักยภาพของปีบ ในการนำมาใช้ในการรักษาหอบหืดในอนาคต