-2-

 

              นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมันมะกอกมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated 55 - 83 % ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดโอเลอิค ซึ่งน้ำมันมะกอกเองก็ยังมีส่วนในการลดระดับไขมันในร่างกาย และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้
          เราสามารถที่จะแบ่งน้ำมันมะกอกออกเป็นกลุ่มได้ง่ายๆ ประมาณ 3 กลุ่ม คือ

  1. น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ชนิด Extra virgin  (Extra virgin olive oil) เป็นน้ำมันมะกอกที่มีคุณภาพดีที่สุดและราคาแพงที่สุดด้วย ได้จากการนำผลมะกอกที่คัดแล้วซึ่งเก็บไว้ได้ไม่เกิน 24 - 72 ชั่วโมง มาบดและปั่นเหวี่ยงเพื่อแยกเอาน้ำมันออกมา โดยไม่ใช้ความร้อนและสารเคมีในกระบวนการเลย ซึ่งในน้ำมันมะกอกกลุ่ม Extra virgin จะมีค่า natural acidity อยู่ ตั้งแต่ 0.225 - 1 เปอร์เซนต์ ขึ้นอยู่กับระดับของน้ำมันและมีกลิ่นเฉพาะของมะกอก (4,5)

  2. น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Virgin olive oil) เป็นน้ำมันมะกอกที่มีคุณค่ารองลงมาจากชนิด Extra virgin และมีราคาถูกกว่าแต่ยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่ กรรมวิธีการผลิตของน้ำมันมะกอกชนิดนี้นั้น คล้ายคลึงกับ Extra virgin แต่ในน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์นี้จะมีค่า natural acidity อยู่ตั้งแต่ 1.5 -3.3 เปอร์เซนต์ และมีกลิ่นเฉพาะตัวของมะกอก ซึ่งน้ำมันมะกอกชนิดนี้ได้มาจากผลมะกอกที่มีคุณภาพรองลงมา (4,5)

  3. น้ำมันมะกอกชนิด Refine olive oil  เป็นน้ำมันมะกอกที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตน้ำมันพืชทั่วไป  ซึ่งมีการใช้ความร้อนและสารเคมีเป็นตัวทำละลาย นอกจากนี้ผ่านกระบวนการในการฟอกสีและกลิ่นออกด้วย ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาผลิต คือ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ที่มีค่า natural acidity สูงเกินกำหนดหรือผลิตมาจากผลของมะกอกเลย ในบางครั้งน้ำมันมะกอกชนิดนี้มีการผสมน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ลงไปด้วย เพื่อเป็นการเติมสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ลงไป (4,5)

 
 

ฤทธิ์ลดระดับไขมันในร่างกาย
มีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของน้ำมันมะกอกมากมาย การรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ที่มีกรดโอเสอิก (oleic acid) และสารโพลีฟีนอล (polyphenol ) สามารถที่จะป้องกันการเกิดภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงได้ และเมื่อให้กับอาสาสมัครที่มีอายุมากว่า 50 ปีขึ้นไป  รับประทานเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ขนาด 2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 20 กรัม พบว่าระดับความเข้มข้นคลอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol) และระดับแอลดีแอลคลอเลสเตอรอล (LDL- cholesterol) ในเลือดลดลง (6) มีการศึกษาการรับประทานน้ำมันมะกอกร่วมกับการให้ไลโคปิน (lycopene) ในอาสาสมัครอายุตั้งแต่ 20 - 70 ปี โดยให้วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน มีผลทำให้ระดับไลโคปิน (lycopene) และระดับเอชดีแอลคลอเลสเตอรอล (HDL - Cholesterol) เพิ่มขึ้น  ส่วนระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) และอัตราส่วนระหว่าง แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL- Cholesterol) ต่อ เอชดีแอลคลอเลสเตอรอล (HDL- Cholesterol) ลดลง ซึ่งการรับประทานน้ำมันมะกอกร่วมกับไลโคปิน (lycopene) อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ (7)  ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกในการเกิดฤทธิ์การลดระดับคลอเลสเตอรอลใน

 
 

 ลือดของน้ำมันมะกอกโดยทำการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าระดับการหลั่งของน้ำดี ระดับความเข้มข้นและอัตราการขับออกทางอุจจาระของ bile acid ละ bile cholesterol  เพิ่มขึ้น (8)  มีการศึกษาในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี จำนวน 31 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 84 - 89 ปี ในการรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ พบว่าหลังรับประทานน้ำมันมะกอก ระดับเข้มข้นคลอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol) ละระดับ แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL- Cholesterol) นเลือดลดลง ซึ่งการลดลงของระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับกรดโอเลอิก (oleic acid) นคลอเลสเตอริลเอสเตอร์ (cholesterly ester) ละฟอวสฟอสฟอไลปิด (phospholipids) นพลาสม่า (9)  มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์กับการออกกำลังกานในหนู พบว่าการที่หนูได้รับน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ทำให้ระดับของไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol) ละระดับของคลอเลสเตอรอล (cholesterol)  ซึ่งการออกกำลังกายก็ทำให้ระดับ ไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol) ละระดับของคลอเลสเตอรอล (cholesterol) ลดลงด้วยเช่นกัน  นอกจากนี้การออกกำลังกายยังทำให้ระดับของ omega 3 polyunsaturated fatty acid พิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกร่วมกับการออกกำลังกาย เป็นแนวคิดที่ดีในการลดระดับของไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol) และระดับของคลอเรสเตอรอล (cholesterol) (10)  อกจากนี้การให้น้ำมันมะกอกยังทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) และระดับคลอเรสเตอรอลรวม (total cholesterol) ดลง และยังทำให้ระดับของ superoxide dismutase พิ่มขึ้นอีกด้วย (11) มีการศึกษาการให้รับประทานน้ำมันมะกอกซึ่งมี monosatulated fatty acid (MUFA) นผู้มีระดับคลอเรสเตอรอลสูงปานกลาง จำนวน 14 คน พบว่าทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลรวม และระดับอะโปไลโปโปรตีนบี (Apolipoprotein B) ดระดับลง (12)  นอกจากนี้ยังพบว่า สารที่เป็น minor constituents องน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์นั้นทำให้ระดับของเอชดีแอลคลอเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) นสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้น หลังจากให้ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ (13)
                                                                                                                 
                                                                                                               
 อ่านต่อ>>

 
 
 
  หมายเหตุ จากจุลสาร ข้อมูลสมุนไพร (Medical Plant Newsletter) ปีที่ 22 ฉบับที่ 2  เดือนมกราคม 2548  สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  

         เมนูอาหารไทยปรุงด้วยน้ำมันมะกอกโอลีฟ